วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประวัติผู้แต่ง


ประวัติผู้แต่ง

เรื่อง พระอภัยมณี

              
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติของสุนทรภู่

ผู้แต่ง : สุนทรภู่


        พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย 


      พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย 
      

      สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงานมีสามีใหม่ และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คน เป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัว เป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก


ผลงานบางส่วนของสุนทรภู่


นิราศ 

๑. นิราศเมืองแกลง แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ตอนต้นปี ๒. นิราศพระบาท แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ตอนปลายปี ๓. นิราศภูเขาทอง แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๗๑ ๔. นิราศเมืองสุพรรณ (โคลง) แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๘๔ ๕. นิราศวัดเจ้าฟ้า ฯ แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๗๕ ๖. นิราศอิเหนา ๗. นิราศพระแท่นดงรัง ๘. นิราศพระประธม ๙. นิราศเมืองเพชร แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๓๙๒ 



นิทาน 
๑. เรื่องโคบุตร แต่งในราวรัชกาลที่ ๑
๒. เรื่องพระอภัยมณี แต่งในราวรัชกาลที่ ๒-๓
๓. เรื่องพระไชยสุริยา แต่งในราวรัชกาลที่ ๓
๔. เรื่องลักษณวงศ์ (มีสำนวนผู้อื่นแต่งต่อ และไม่ทราบเวลาแต่ง)
๕. เรื่องสิงหไตรภพ แต่งในราวรัชกาลที่ ๒ 


สุภาษิต 
๑. สวัสดิรักษา แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๔-๗
๒. เพลงยาวถวายโอวาท แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓
๓. สุภาษิตสอนหญิง แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๓๘๓


บทละคร 
๑. เรื่องอภัยณุราช

บทเสภา 

๑. เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม แต่งในรัชกาลที่ ๒
๒. เรื่องพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔ 


บทเห่กล่อม 
๑. เห่เรื่องจับระบำ
๒. เห่เรื่องกากี
๓. เห่เรื่องพระอภัยมณี
๔. เห่เรื่องโคบุตร

รวมวรรณกรรมของสุนทรภู่ ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง 

ที่มา
http://www.stjohn.ac.th
https://www.dmc.tv

เรื่องย่อ


เรื่องย่อ





           ณ กรุงรัตนา มีท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสรเป็นผู้ครองเมือง ทั้งสองมีพระโอรสสององค์ คือ พระอภัยมณี และศรีสุวรรณ และส่งให้ทั้งสองไปเรียนศิลปวิทยา โดยพระอภัยมณีจบวิชาปี่ ส่วนศรีสุวรรณจบวิชากระบี่กระบอง เมื่อสำเร็จวิชาแล้ว ทั้งสิงก็ได้กลับคืนสู่พระนคร เมื่อพระบิดาทราบว่าบุตรทั้งสองเรียนวิชาชั้นต่ำที่ไม่คู่ควรแก่การเป็นกษัตริย์ ก็ทรงกริ้วและขับไล่ทั้งสองออกจากพระนคร ทั้งสองเดินทางไปเรื่อยๆจนถึงชายทะเล และได้พบกับพราหมณ์ คน คือ โมรา สานนท์ และวิเชียร ทั้งหมดผูกสมัครเป็นมิตรกัน

          จากนั้นพระอภัยมณีก็เป่าปี่ให้คนทั้งหมดฟัง จนเคลิบเคลิ้มหลับไป เพลง ปี่ดังไกลไปถึงนางผีเสื้อสมุทรที่อาศัยอยู่กลางทะเล เมื่อนางผีเสื้อสมุทรได้ฟังเสียงปี่ก็ตามเสียงมาจนพบและตกหลุมรักพระอภัยมณี นางจึงลักพาตัวพระอภัยมณีให้กลับไปอยู่บนเกาะกับนาง นางผีเสื้อสมุทรจำแลงกายเป็นหญิงหน้าตาสวยงาม และแม้พระอภัยจะรู้ทั้งรู้ว่าสาวงามผู้นี้คือนางยักษ์ แต่ก็ไม่อาจจะหนีไปไหนได้                    ทั้งสองจึงอยู่กินกันจนให้กำเนิดบุตรชายร่วมกันชื่อว่า สินสมุทร ด้าน ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ เมื่อตื่นจากการหลับใหลแล้วไม่พบพระอภัยมณี ก็เที่ยวค้นหาจนไปถึงเมืองรมจักรทั้งสี่ร่วมกันสู้ศึกป้องกันเมือง และได้พบกับนางเกษราผู้เป็นธิดาของเจ้าเมือง ศรีสุวรรณจึงได้อภิเษกกับนางเกษรา และให้กำเนิดพระธิดาชื่อว่า นางอรุณรัศมี

      วันหนึ่งสินสมุทรออกไปเที่ยวเล่นข้างนอกจนพบเจอกับพ่อเงือกแม่เงือกคู่หนึ่ง สินสมุทรจึงจับตัวเงือกคู่นั้นมาให้พ่อดู พ่อเงือกและแม่เงือกวอนขอให้พระอภัยมณีไว้ชีวิตและยื่นขอเสนอว่าจะพาตัวพระอภัยมณีหนี พระอภัยมณีเห็นด้วยกับความคิดนี้ จึงออกอุบายให้นางผีเสื้อไปถือศีลบนเขา 3วัน คืน ระหว่างที่นางผีเสื้อสมุทรไม่อยู่ พระอภัยก็พาสินสมุทรหลบหนี พ่อเงือกแม่เงือกพาพระอภัยและสินสมุทรหนีมาจนเกือบถึงเกาะแก้วพิสดาร  ก็พอดีกับที่นางผีเสื้อรู้ตัวและติดตามมาทัน เมื่อตามมาทันนางผีเสื้อก็ฆ่าพ่อเงือกแม่เงือกทิ้ง  ส่วนนางเงือกผู้เป็นลูกก็พาพระอภัยกับสินสมุทรหนีต่อไปอีกจนถึงเกาะแก้ว พิสดาร บนเกาะแห่งนี้ เป็นที่อยู่ของพระฤๅษีผู้มีฤทธิ์มาก นางผีเสื้อจึงไม่กล้าจะทำอะไร และปล่อยให้ทั้งหมดอาศัยอยู่บนเกาะแก้วพิสดารอย่างปลอดภัย ฝ่ายพระอภัยก็ได้นางเงือกเป็นภริยา

         ณ เมืองผลึก มีท้าวสิลราชกับพระนางมณฑาเป็นผู้ครองเมือง ทั้งสองมีพระธิดา ชื่อว่า นางสุวรรณมาลี ซึ่งทรงเป็นคู่หมั้นอยู่กับอุศเรน เจ้าชายแห่งเมืองลังกา วันหนึ่งนางสุวรรณมาลีเกิดนิมิตฝัน โหรจึงได้ทำนายว่า นางนั้นจะต้องออกทะเล จึงจะได้พบลาภก้อนใหญ่  ทั้งหมดเชื่อในคำทำนายและมุ่งหน้าเดินเรือเที่ยวท่องไป ระหว่างอยู่กลางทะเล เกิดมีพายุลูกใหญ่พัดเรือไปถึงเกาะนาควาริน คำทำนายของปู่เจ้าทำให้ท้าวสิลราชพากองเรือมุ่งหน้าไปยังเกาะแก้วพิสดาร จนได้พบกับพระอภัยมณี ท้าว สิลราชทรงรับพระอภัยมณีกับสินสมุทรขึ้นเรือไปด้วยกันเพื่อกลับบ้านเมือง แต่เมื่อเรือแล่นออกจากเกาะ นางผีเสื้อสมุทรก็ออกมาอาละวาดจนเรือแตก ท้าวสิลราชกับบริวารส่วนใหญ่สิ้นชีพกลางทะเล เหลือเพียงแต่สินสมุทรที่พานางสุวรรณมาลีหนีไปได้ ส่วนพระอภัยมณีก็เป่าปี่สังหารนางยักษ์จนสิ้นใจกลางทะเลทั้งหมดแตกกระจายพลัดพรายไปคนละทิศละทาง ฝ่ายพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากอุศเรน ผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี ส่วนสินสมุทรกับนางสุวรรณมาลีก็ได้โจรสุหรั่งผู้เป็นโจรสลัดในน่านน้ำนั้น ช่วยชีวิตไว้ได้ แต่แล้วโจรก็ยังเป็นโจร โจรสุหรั่งคิดทำร้ายสินสมุทร สินสมุทรจึงสังหารโจรแล้วครอบครองเรือมาเป็นของตนเอง สินสมุทรออกเรือไปจนพบศรีสุวรรณที่กำลังล่องเรือเที่ยวตามหาพี่ชาย ทั้งหมดจึงเดินทางต่อไปด้วยกันจนมาพบกับพระอภัยมณีและอุศเรน สินสมุทรรู้สึกรักนางสุวรรณมาลีและอยากให้มาเป็นแม่จึงเกิดเหตุวิวาทกับอุศเรน พระอภัยมณีจึงหนีไปเมืองผลึกพร้อมนางสุวรรณมาลีและได้ขึ้นครองเมืองแทนท้าว สิลราช ฝ่ายอุศเรนก็รู้สึกแค้นใจ จึงมุ่งหน้ากลับเมืองลังกาเพื่อยกทัพมาตีเมืองผลึก แต่แล้วก็แพ้อุบายของนางวาลีจนต้องสิ้นชีวิต นางละเวงวัณฬาผู้น้องสาวจึงคิดจะแก้แค้นให้พี่ชาย จึงออกอุบายใช้รูปของตนทำเสน่ห์ แล้วส่งไปหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกทัพมาตีเมืองผลึก ฝ่ายนางเงือกที่อาศัยอยู่ที่เกาะแก้วพิสดาร ก็ให้กำเนิดบุตรชื่อว่า สุดสาคร เด็กคนนี้เป็นเด็กที่ฉลาดและแข็งแรงมาก วันหนึ่งสุดสาครจับม้านิลมังกรมาได้ พระฤๅษีจึงสอนวิชาและเล่าเรื่องพระอภัยมณีผู้เป็นพ่อของเด็กน้อยให้ฟัง เมื่อสุดสาครรู้เรื่องพ่อขอตน ก็กราบลาพระฤาษีเพื่อออกเดินทางตามหาพ่อ สุดสาครเดินทางไปจนถึงเมืองการเวก  ระหว่างทางก็ถูกชีเปลือยหลอกขโมยไม้เท้าและม้านิลมังกรที่พระฤาษีมอบไว้ให้ คู่กายไป แต่พระฤๅษีก็เข้ามาช่วยไว้ได้ทัน จนชิงเอาไม้เท้าและม้านิลมังกรกลับคืนมาได้ สุดสาครเดินทางเข้าสู่เมืองการเวก เมื่อกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าเมืองเห็นก็รู้สึกรักใคร่เอ็นดู จึงรับอุปการะเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรม สุดสาคร อยู่ด้วยกันกับนางเสาวคนธ์และหัสไชยผู้เป็นพระธิดาและพระโอรสของกษัตริย์จน เติบใหญ่ สุดสาครจึงคิดจะออกตามหาพ่อ เจ้าเมืองการเวกจึงแจงหากองเรือให้ และให้นางเสาวคนธ์และหัสไชยติดตามไปด้วย ทั้งหมดล่องเรือไปจนถึงเมืองผลึก ซึ่งขณะนั้นกำลังถูกทัพลังกาและทัพพันธมิตรล้อมเมืองไว้อยู่ พระ อภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และสุดสาคร จึงช่วยกันสู่รบจนสามารถเอาชนะทัพอื่นๆได้ ฝ่ายพระอภัยมณีเมื่อได้รูปวาดของนางละเวงที่ลงเสน่ห์เอาไว้ ก็เกิดต้องมนต์ของนางละเวงเสียเอง ทำให้พระอภัยยกทัพตามไปตีเมืองลังกาด้วย แต่รบกันเท่าใดก็ไม่มีฝ่ายไหนแพ้ชนะเสียที



ที่ม

https://sites.google.com/a/cnt.go.th
https://sites.google.com

แนะนำตัวละครและลักษณะนิสัย



แนะนำตัวละและลักษณะนิสัย


1.พระอภัยมณี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระอภัยมณี

ลักษณะนิสัย

     เป็นพระโอรสของท้าวสุทัศน์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนา กับ นางปทุมเกสร ซึ่งพระอภัยมณีมีน้องชายมีนามว่า ศณีสุวรรณ 
    
   ลักษณะเด่นของพระอภัยมณี เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญความสามารถในการเป่าปี่ที่ทรงเป็นเอกลักษณ์ สามารถเป่าปี่ให้ผู้ฟังนั้นคล้อยตามและหลับได้

    มีนิสัย เจ้าชู้ และ มีภรรยาหลายคน

2.นางผีเสือสมุทร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะนิสัย
    
      เป็นนางยักษ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำกลางทะเล สามารถแปลงร่างเป็นหญิงสาวที่สวยงามได้

     มีนิสัย ขี้หึง และ อาฆาตแค้น

3.นางเงือก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นางเงือกในเรื่องพระอภัยมณี

มีลักษณะนิสัย
      
      มีรูปร่างครึ่งคนครึ่งปลา ร่างกายท่อนบนมีรูปร่างเป็นหญิงสาวสวยงาม ส่วนร่างกายท่อนล่างนับตั้งแต่เอวมีรูปร่างเหมือนปลาและมีหางอาศัยอยู่ในทะเล
     
     มีนิสัย  มีความเมตตา มีควมเสียสละ และมั่นคงในความรัก

4.สินสมุทร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สินสมุทรในเรื่องพระอภัยมณี

ลักษณะนิสัย

       เป็นบุตรของพระอภัยมณี กับ นางผีเสื้อสมุทร ที่มีรูปร่างหน้าทีี่งดงามคล้ายกับพระอภัยมณีเป็นอย่างมาก

      มีนิสัย  รักพ่อมาก และ ชอบการผจญภัย

5.พระฤาษี หรือ โยคี

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

มีลักษณะนิสัย
     
      เป็นนักบวชชรา นับถือลัทธิบูชาไฟ  ท่านโยคีมีอายุได้พันปีเศษ บำเพ็ญศีลอยู่ที่เกาะแก้วพิศดารมาเป็นเวลานาน  ท่านโยคีมีมนต์วิเศษหลายอย่าง อีกทั้งยังสามารถปราบพวกภูตผีปีศาจ

     มีนิสัย  ชอบให้การอบรมสั่งสอนและตักเตือน  อยู่เป็นกลางไม่เลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ใช้หลักธรรมพื้นฐานของการสันติภาพ  พยายามให้คู่กรณีเป็นมิตรต่อกัน  
      

6.พ่อแม่นางเงือก

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

มีลักษณะนิสัย
       
         มีรูปร่างครึ่งคนครึ่งปลา ร่างกายท่อนบนมีรูปร่างเหมือนคน ส่วนร่างกายท่อนล่างนับตั้งแต่เอวมีรูปร่างเหมือนปลาและมีหางอาศัยอยู่ในทะเล
     
     มีนิสัย  มีความเมตตา และ  มีควมเสียสละ 
       
ที่มา
https://sites.google.com

คุณค่าในวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี



คุณค่าในวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี





๑) คุณค่าทางอารมณ์
บทประพันธ์ข้างต้นเป็นเป็นส่วนหนึ่งของพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาครซึ่งเป็นตอนที่นางเงือกจะคลอดสุดสาครสุนทรภู่มีความสามารถในการเลือกใช้คำประพันธ์ที่สื่ออารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างงดงามเหมาะสม

                     “ โอ้องค์พระอภัยก็ไปลับ                                ไม่เห็นกลับคืนมานิจจาเอ๋ย
          จะคลอดบุตรสุดใจเมียไม่เคย                         ที่ไหนเลยจะตลอดรอดชีวา
          นางครวญคร่ำร่ำไรไห้ระห้อย                         น้ำตาย้อยพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา
     ให้กลุ่มกลัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์                       ด้วยเป็นปลาแปลกนางอย่างมนุษย์”
บทประพันธ์ดังกล่าว มีการใช้ถ้อยคำที่สื่อถึงอารมณ์โศกเศร้าของนางเงือกได้อย่างชัดเจนว่านางรู้สึกโศกเศร้าและตัดพ้อพระอภัยมณีไม่ได้มาดูแลนางตอนจะคลอดบุตรโดยสุนทรภู่ใช้คำว่า “กลุ่มกลัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์”ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเข้าถึงอารมณ์ความเศร้าได้อย่างลึกซึ้ง
  
               “ โอ้เกิดมาอาภัพอัปภาคย์                                 จะจำจากมารดานิจจาเอ๋ย
                  อย่าเศร้าสร้อยน้อยใจอาลัยเลย                        บุญแม่เคยครองเลี้ยงเจ้าเพียงนั้น
                  ไปชาติหน้ามาเกิดเป็นอกแม่                            อย่าห่างแหเสน่หาจนอาสัญ
                  ในชาตินี้วิบากจะจากกัน                                เพราะต่างพันธุ์ผิดเพศสังเวชใจ”
  บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่นางเงือกผู้เป็นแม่รำพันด้วยความโศกเศร้าที่จำต้องฝากให้พระโยคีเลี้ยงดูสุดสาครแทนตนเพราะนางเงือกเป็นเงือกไม่สามารถเลี้ยงดูมนุษย์ได้วิสัยอยู่ไกลกัน สุนทรภู่ได้ถ่ายทอดอารมณ์ของผู้เป็นมารดาที่จำต้องพรากจากลูกผู้เป็นดั่งดวงใจได้อย่างชัดเจน

       “ กุมาราถาโถมเข้าโจมจับ                               มังกรรับรบประจัญไม่ผันผิน
         เข้าคาบคอกษัตริย์จะกัดกิน                            กุมารดิ้นโดดขึ้นนั่งอาชา
         ม้าสะบัดพลัดหลุดยังหยุดหาง                         ดูกลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา
        ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา                          เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่นดัง
           บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่สุดสาครไล่จับม้านิลมังกรมีการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนานไปกับการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับม้า โดยสุนทรภู่ใช้คำที่แสดงถึงการต่อสู้ได้อย่างมีจินตภาพ ได้แก่  รับรบประจัญ, ถาโถมเข้าโจมจับ ,ดิ้นโดดข้นนั่ง, สะบัดพลัดหลุด, กลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา, ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา, เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่นดัง

๒) คุณค่าทางคุณธรรม
วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณีตอนกำเนิดสุดสาคร สุนทรภู่ได้ให้ข้อคิดแก่บุคคลทุกชนชั้นตั้งแต่ ประชาชนคนรากหญ้าจนถึงพระมหากษัตริย์ ข้อความคุณธรรมต่างๆได้สอดแทรกในบทประพันธ์สามารถพบคุณธรรมต่างๆได้ในชีวิตประจำวันทำให้ผู้อ่านเข้าใจในหลักธรรมได้ง่ายมากขึ้น

              “ พระโยคีมีจิตคิดสงสาร                          ด้วยเหมือนหลานลูกศิษย์สนิทสนม
       จึงว่ากูผู้สถิตในกิจกรม                           ไม่มีสมบัติอะไรที่ไหนเลย
       จะเย็บฟูกผูกเปลเห่อ้ายหนู                      ก็ไม่รู้สีสาสีกาเอ๋ย
      ต้องกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไปทั้งไม่เคย              จะเฉยเมยเสียไม่ช่วยจะมวยมุด”
บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่พระโยคีสงสารนางเงือกที่ไม่สามารถเลี้ยงดูสุดสาครได้เนื่องจากเป็นเงือกมีวิสัยอยู่ไกลกันกับมนุษย์ จึงบอกกับนางเงือกว่าตนจะช่วยเลี้ยงดูสุดสาครแทนนางให้ เห็นได้ว่าแม้พระโยคีจะไม่มีสมบัติหรือเย็บฟูกเห่กล่อมเด็กไม่เป็นก็มีจิตเมตตารับปากจะเลี้ยงดูสุดสาคร ผู้ประพันธ์ได้ให้ข้อคิดในคำประพันธ์นี้ว่า เราควรมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งใดที่เราพอจะช่วยได้ก็ควรช่วยเพราะนอกจากจะทำให้ผู้ได้รับความช่วยเหลือสุขใจแล้วเราซึ่งเป็นผู้ช่วยก็จะมีความสุขด้วย

          “สอนให้หลานอ่านเขียนร่ำเรียนไป                    แล้วก็ให้วิทยาวิชาการ
           รู้ล่องหนทนคงเข้ายงยุทธ์                             เหมือนสินสมุทรพี่ยาทั้งกล้าหาญ”
บทประพันธ์ดังกล่าว แสดงถึงคุณธรรมความเมตตาของพระโยคีที่สอนวิชาความรู้ต่างๆแก่สุดสาครทั้งๆที่สุดสาครไม่ใช่ญาติลูกหลานของท่าน ท่านก็มิได้หวงแหนความรู้

       “นางเงือกน้ำคำรพอภิวาท                               ข้าเป็นชาติเชื้อสัตว์เหมือนมัจฉา
       จะกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมนุษย์สุดปัญญา                  ขอฝากฝ่าบาทบงส์พระทรงธรรม์
        ช่วยเลี้ยงดูกุมารเหมือนหลานเถิด                      เสียแรงเกิดกายมาจะอาสัญ
        อันข้านี้วิสัยอยู่ไกลกัน                                    เช้ากลางวันเย็นลงจะส่งนม”
บทประพันธ์ดังกล่าว แสดงถึงคุณธรรมของนางเงือกที่ยอมปล่อยลูกให้พระโยคีดูแลแทน ทั้งๆที่นางก็รัก ห่วงใย อยากอยู่ใกล้สุดสาครแต่นางไม่เห็นแก่ตัวจึงไปขอร้องให้พระโยคีช่วยเหลือแล้วตนค่อยเวียนมาหาลูกให้ดื่มนม                
๓) คุณค่าทางสติปัญญา
           “ฤกษ์วันนี้ตรีจันทร์เป็นวันโชค                          ต้องโฉลกลัดนามหาอุด
            จะให้นามตามอย่างข้างมนุษย์                           ให้ชื่อสุดสาครอวยพรชัย”
บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่พระโยคีได้ตั้งชื่อให้ลูกของนางเงือกว่าสุดสาคร โดยถือเอาตามฤกษ์จันทร์ตรีซึ่งเป็นวันที่ดาวเรียงรายติดต่อกันเป็นการให้ความรู้ทางโหราศาสตร์ โดยวันจันทร์ตรีคือวันดาวพระเคราะห์เรียงเป็นแถวไป ราศี มีลัคนาอยู่กลาง ถือเป็นวันดี

๔) คุณค่าด้านประเพณี
          “เอาโคมส่องมองเขม้นเห็นนางเงือก               สลบเสือกอยู่ที่ทรายชายกระแส
            เป่ามหาอาคมให้ลมแปร                           ที่ท้อแท้ค่อยประทังกำลังนาง
            เห็นโยคีดีใจจึงไหว้กราบ                           สมาบาปวิบัติช่วยขัดขวาง
            ความเจ็บปวดรวดร้าวไม่เบาบาง                 นางครางพลางพลิกกายฟายน้ำตา”
          บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่พระโยคีตามหานางเงือกเพราะรับรู้ถึงความต้องการการช่วยเหลือ            พอพระโยคีเดินออกมาที่ชายหาดก็เห็นนางเงือกนอนสลบที่นั่น จึงเป่าอาคมทำให้นางเงือกฟื้นขึ้นมาเมื่อนางเงือกเห็นพระโยคีก็ไหว้ขอความช่วยเหลือ จากบทประพันธ์จะเห็นได้ว่าประเพณีการไหว้ของคนไทยนั้นมีมาแต่โบราณตั้งแต่ยุคสมัยของสุนทรภู่ดังนั้นเราก็ควรอนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังสืบต่อไป

๕)คุณค่าด้านสังคม
              “แล้วหลีกไปให้ห่างเสียข้างเขา                     ช่วยเสกเป่าป้องปัดกำจัดผี
                เดชะฤทธิ์อิศโรพระโยคี                             มิได้มีเภทภัยสิ่งไรพาน
                ทั้งเทวาอารักษ์ที่ในเกาะ                            ระเห็จเหาะมาสิ้นทุกถิ่นฐาน
               ช่วยแก้ไขได้เวลากฤษดาการ                       คลอดกุมารเป็นมนุษย์บุรุษชาย”
บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่พระโยคีท่องคาถาให้เทวดาที่อารักษ์อยู่ที่เกาะมาช่วยเหลือนางเงือกคลอดบุตร จากบทประพันธ์นี้แสดงถึงสภาพสังคมของคนไทยสมัยโบราณว่า มีความเชื่อเรื่องเทวดาที่อารักษ์สถานที่ต่างๆว่ามีอยู่จริง

ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทยเรื่อง พระอภัยมณี
         ๑)      การเล่นเสียง คือการใช้คำที่ทำให้เกิดเสียง นอกจากสัมผัสนอกซึ่งเป็นสัมผัสบังคับแล้ว ทุกวรรคของ
คำกลอนจะแพรวพราวด้วยสัมผัสใน อันได้แก่ เสียงสัมผัสสระและเสียงสัมผัสอักษร ดังบทประพันธ์

                “นางครวญคร่ำร่ำไรไห้ระห้อย                      น้ำตาย้อยพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา
    ให้กลุ่มกลัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์                               ด้วยเป็นปลาแปลกนางอย่างมนุษย์สงสารนางให้
    ครางครวญอย่างป่วนปวด                                      ยิ่งเร้ารวดร้อนใจดังไฟจุด
    สะอื้นอ่อนอ่อนระทวยแทบม้วยมุด                             หากบุญบุตรบันดาลช่วยมารดา”
สัมผัสสระ ได้แก่ คร่ำ-ร่ำ , ไร-ไห้,กลัด-อัด,อั้น-หวั่น
สัมผัสอักษร ได้แก่ ครวญ-คร่ำ,พรั่ง-พราย,กลุ่ม-กลัด,อัด-อั้น,ปลา-แปลก,คราง-ครวญ,ป่วน-ปวด,เร้า-รวด-ร้อน,อื้น-อ่อน,ทวย-แทบ,บุญ-บุตร-บัน

“ฝ่ายโยคีนั่งนิ่งได้ฟังเสียง                              จึงมองเมียงมาชะโงกริมโกรกผา
เห็นกุมารคลานได้มิใช่ปลา                               หัวร่อร่าร้องไม่เป็นไรแล้ว”
สัมผัสอักษร ได้แก่ นั่ง-นิ่ง,มอง-เมียง-มา,ร่อ-ร่า-ร้อง

        “ถึงดึกดื่นตื่นนอนป้อนกล้วยน้ำ                            กุมารกล้ำกลืนกินจนสิ้นหวี
         ทึ้งฟูกเมาะเบาะอินทรีย์                                     พระโยคีคอยระวังเป็นกังวล”
สัมผัสสระ ได้แก่ ดื่น-ตื่น,นอน-ป้อน,เมาะ-เบาะ,หมอน-อ่อน
สัมผัสอักษร ได้แก่ กล้ำ-กลืน,ดึก-ดื่น

“ได้สิบเดือนเหมือนได้สักสิบขวบ                        ดูขาวอวบอ้วนท้วนเป็นนวลฉวี
ออกวิ่งเต้นเล่นได้ไกลกุฎี                                เที่ยวไล่ขี่วัวควายสบายใจ”

สัมผัสสระ ได้แก่ เดือน-เหมือน, อ้วน-ท้วน,เต้น-เล่น
สัมผัสอักษร ได้แก่ อวบ-อ้วน

                   “อยู่วันหนึ่งถึงเวลาสิทธาเฒ่า                          สำรวมเข้านั่งฌานกุมารหนี
                     ลงเล่นน้ำปล้ำปลาในวารี                              แล้วข้นขี่ขัดขวางไปกลางชล”
สัมผัสสระ ได้แก่ น้ำ-ปล้ำ
สัมผัสอักษร ได้แก่ ข้น-ขี่-ขัด-ขวาง
       
      ๒)     การเล่นคำพ้องความ 
        
                      “ได้เจ็ดคาบปราบม้าสวาหะ                            แล้วเป่าลงตรงศีรษะสิ้นหกหน
                        อาชาชื่นฟื้นกายไม่วายชนม์                          ให้รักคนขี่หลังดังชีวา”

จากบทประพันธ์มีการเล่นคำพ้องความ คือคำว่า ม้าและอาชา

      “แล้วเรียกบุตรสุดสาครของแม่                    เฝ้าแลแลมารดาน่าสงสาร
     ให้กินนมชมชูพระกุมาร                             แล้วให้คลานขึ้นบนเพลาพระเจ้าตา”
จากบทประพันธ์มีการเล่นคำพ้องความ คือคำว่า แม่และมารดา 
       
      ๓)      การเล่นคำซ้ำ คือการนำคำมาเขียนซ้ำติดๆกัน เพื่อเน้นย้ำความหมายที่หนักแน่น
ไม่ปรากฏในบทประพันธ์ตอน กำเนิดสุดสาคร
      ๔)      การเล่นคำเชิงถาม
“เมื่อเงือกน้ำร่ำเรียกก็รู้เหตุ                       นิ่งสังเกตว่าสีกามาแต่ไหน
       พลางหัวร่ออ้อเมียพระอภัย                        เขาฝากไว้วันจะลาไปธานี”
จากบทประพันธ์มีการเล่นคำเชิงถาม คือคำว่า มาแต่ไหน เป็นเพียงความคิดของพระโยคีไม่ได้ต้องการคำตอบ
“พระทรงศิลป์ยินสุดสาครบอก                         นึกไม่ออกอะไรกัดหรือมัจฉา
จึงเล็งญาณฌานทิพย์ด้วยฤทธา                             ก็รู้ว่าม้ามังกรสมจรกัน”
          จากบทประพันธ์มีการเล่นคำเชิงถาม คือคำว่า ไม่ออกอะไรกัดหรือมัจฉา เป็นตอนที่พระโยคีรำพึงกับตัวเองถึงม้าหน้าตาคล้ายมังกร ที่สุดสาครได้พบ

       ๕)      การกล่าวเกินความเป็นจริง
          “ขี่ขยับขับขึ้นบนเกาะแก้ว                             ยิ่งคล่องแคล่วควบกระโดดโขดไศล
เที่ยวเลียบรอบขอบเกาะแล้วเหาะไป                          ประเดี๋ยวใจถึงศาลาพรอาจารย์”
            จากบทประพันธ์ได้กล่าวว่า สุดสาครขี่ม้านิลมังกรเหาะไปหาพระโยคี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วม้าไม่สามารถเหาะได้
“ได้สิบเดือนเหมือนได้สักสิบขวบ                      ดูขาวอวบอ้วนท้วนเป็นนวลฉวี

ออกวิ่งเต้นเล่นได้ไกลกุฎี                            เที่ยวไล่ขี่วัวควายสบายใจ”

          จากบทประพันธ์ได้กล่าวว่า เมื่อสุดสาครอายุได้สิบเดือนก็สามารถวิ่งเล่น เที่ยวขี่วัวควายได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงเด็กสิบเดือนยังไม่สามารถวิ่งเล่น เที่ยวขี่วัวควายได้
“นางกราบกรานท่านสิทธาว่าสาธุ                        ให้อายุยืนยงอสงไสย
               สืบตระกูลพูนสวัสดิ์กำจัดภัย                                แล้วอุ้มให้กินนมแล้วชมเชย”
          จากบทประพันธ์ได้กล่าวว่า  นางเงือกอวยพรให้ฤาษีอายุยืนเป็นอสงไขยปี แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ไม่สามารถอายุยืนได้ถึงอสงไขยปีได้

         ๖)      การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
          “จึงวางองค์ลงบนเปลแล้วเห่ช้า                        ทำขนมแชงม้าเวลาดึก
           โอละเห่โอละโห่โอระอึก                                 อึกทึกทั้งศาลาจนราตรี”
จากบทประพันธ์มีการเลียนเสียงการเห่กล่อมสุดสาครของพระโยคี คือคำว่า โอละเห่โอละโห่โอระอึก      

        “พระดาบสสอดปากมิอยากได้                     ใครใช้ให้มึงรักกันหนักหนา
                ส่วนลูกไม่ใคร่ออกสิบอกตา                          สมน้ำหน้าปวดท้องร้องเบยเบย
จากบทประพันธ์มีการเลียนเสียงของนางเงือกที่ร้องด้วยความเจ็บปวดตอนคลอดสุดสาคร คือคำว่า เบยเบย

        ๗)      การเปรียบเทียบแบบอุปมา
     “สงสารนางให้ครางครวญอย่างป่วนปวด                ยิ่งเร้ารวดร้อนใจดังไฟจุด
      สะอื้นอ่อนอ่อนระทวยแทบม้วยมุด                        หาบุญบุตรบันดาลช่วยมารดา”
จากบทประพันธ์ข้างต้นมีการเปรียบเทียบแบบอุปมาถึงความเจ็บปวดในการคลอดสุดสาครของนางเงือกว่าดังเอาไฟมาจุดรนกาย  โดยมีคำว่า ดัง ในบทประพันธ์

          “เนตรขนงวงนลาฎไม่คลาดเคลื่อน                   ละม้ายเหมือนพระอภัยนั้นใจหาย
          มีกำลังนั่งคลานทะยานกาย                             เข้ากอดกายมารดรไม่อ่อนแอ”
จากบทประพันธ์ข้างต้นมีการเปรียบเทียบแบบอุปมาถึงหน้าตาของสุดสาครว่าเหมือนพระอภัยมณีโดยมีคำว่า เหมือน ในบทประพันธ์

         “พอพบม้าหน้าเหมือนมังกรร้าย                     แต่กีบกานนั้นเป็นม้าน่าฉงน
               หางเหมือนอย่างหางนาคปากคำรณ                     กายพิกลกำยำดูดำนิล”
จากบทประพันธ์ข้างต้นมีการเปรียบเทียบแบบอุปมาถึงหน้าของม้านิลมังกรว่าเหมือนมังกรร้าย              โดยมีคำว่า เหมือน ในบทประพันธ์

       ๘)      การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ ไม่ปรากฏในบทประพันธ์ ตอนกำเนิดสุดสาคร
  ๙)      การใช้สัญลักษณ์เป็นสิ่งแทน
“ฝ่ายโยคีมีพรตปรากฏกล้า                              นั่งรักษาทางธรรมกรรมฐาน
 แสนสว่างทางกสิณอภิญญาณ                              พระอาจารย์แจ้งจบทั้งภพไตร”
จากบทประพันธ์ข้างต้นซึ่งเป็นบทที่กล่าวถึงพระโยคีที่อยู่เกาะแก้วพิสดาร มีการใช้สัญลักษณ์ คือ             คำว่า สว่างทางกสิณอภิญญาณแทนผู้ที่มีญาณวิเศษและมีคุณธรรม

๑๐) การใช้บุคลาธิษฐาน  ไม่ปรากฏในบทประพันธ์ตอน กำเนิดสุดสาคร
           ๑๑) การใช้นาฏการ
                    “กุมาราถาโถมเข้าโจมจับ                             มังกรรับรบประจัญไม่ผันผิน
                    เข้าคาบคอกษัตริย์จะกัดกิน                          กุมารดิ้นโดดขึ้นนั่งอาชา
                    ม้าสะบัดพลัดหลุดยังหยุดหาง                       ดูกลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา
                    ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา                       เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่นดัง”


          บทประพันธ์ข้างต้น เป็นตอนที่สุดสาครไล่จับม้านิลมังกรมีการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านสามารถจิตนาการ      การต่อสู้ ไล่จับกันระหว่างม้านิลมังกรกับสุดสาครได้อย่างชัดเจน โดยสุนทรภู่ใช้คำที่แสดงถึงการต่อสู้ได้อย่าง                   มีจินตภาพ ได้แก่  รับรบประจัญ, ถาโถมเข้าโจมจับ , ดิ้นโดดขึ้นนั่ง, สะบัดพลัดหลุด, กลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา, ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา, เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่น,กระโดดโครมโถมถึงเข้าทึ้งหนวด,หวดหางกระหวัด,โจนประจบจับหนวดกระหมวดรั้ง